วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 16 เทคนิคการจูนเสียง เครื่องเสียงรถยนต์

สัปดาห์ที่ 16 เทคนิคการจูนเสียง เครื่องเสียงรถยนต์


แบบง่ายๆ FLAT TUNE การจูนแบบนี้ ผมไม่ได้ลอกใครมานะ แต่ถ้าไปซ้ำกับใครก็ถือว่าแนวความคิดคงคล้ายๆกันกับผมก่อนอื่น ต้องหาแผ่นเทสเสียงก่อน เอาแผ่นที่เราชอบ แนวประมาณนี้ฟังบ่อย ฟังแล้วมีความสุขปรับทุกอย่างทั้ง bass table balance fader ให้เป็น 0 (ศูนย์ หรือ FLAT) ปิด loundness หรือ BBE หรือ DBB หรือะไรก็แล้วแต่ที่ช่วยเรื่องไดนามิกของระบบเบสแล้วก็ เปิด VOL 20% กรณีนี้ สำหรับรถที่เครื่องเสียงธรรมดา หรือเปลี่ยนแต่ Front มาอย่างเดียวลองนั่งฟังดูซักเพลงสองเพลง แล้วลุกไปทำอะไรก็ได้ หาอะไรเย็นๆขมๆมากิน เข้าห้องน้ำ ไปสูบบุหรี่ พักหูมา ตอนนี้มาเริ่มกันใหม่ ฟังอย่างตั้งใจ เพิ่ม loundness ก่อน ฟังได้มั๊ยพอใจยัง ตอนนี้ก็ไล่เพิ่มทุกๆอย่างเข้าไปถ้า เร่งทุกอย่างจนสุดแล้ว ยังไม่พอใจ คุณต้องเพิ่มระบบแล้วล่ะ เพราะอาจเกิดจากข้อจำกัดของรูปแบบ ลำโพง ตำแหน่ง อุปกรณ์ ของคุณ จริงๆแล้ว พื้นฐานของ FLAT อยากให้ลองหัดฟังแบบไม่ปรุงแต่งอะไรเลย เพราะนักฟังเพลงที่ดีควรจะฟังเสียงแบบบริสุทธิจากเครื่องเล่น แล้วค่อยปรับจัดหาลำโพงและวางตำแหน่งที่เหมาะกับแนวฟังของเรา ให้การปรับจากเครื่องเล่นช่วยน้อยที่สุด จะช่วยลดการสิ้นเปลืองในการเล่นเครื่องเสียงของคุณ เล่นแล้วจบ เมียไม่บ่น เอาเงินไปถมซะงั้น อย่าเชื่อคนขาย มันขายติดเสร็จเก็บเงิน เสียงห่วยแตกมาให้มันแก้ หน้าก็บูด ทำแบบเสียไม่ได้ มีเอ็ฟเฟ็กซ์ จงเชื่อหูเราเอง ฟังของชาวบ้าน อย่าไปลองฟังตามตู้ที่เค้าเทสกดฟังคู่นั้นคู่นี้ ข้อจำกัดในรถมันต่างกันเยอะ แล้วใครมีวิธีอื่นๆ แนะนำมาครับ เป็นแนวทางให้เพื่อนพี่น้องผู้รักเสียงเพลงในรถ

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 15 การเลือกซื้อลำโพง



การเลือกซื้อลำโพง

อะไรที่ควรมองเป็นอย่างแรกเวลาเลือกลำโพง สิ่งแรกที่เราจะพิจรณาถึงการเลือกซื้อลำโพงสักคู่หนึ่งนั้นเราควร ที่จะดูเรื่องอะไรเป็นอย่างแรกเช่น ชอบแนวเพลงแบบไหน รูปลักษณ์ของลำโพงสวยงามขนาดไหนหรือเรื่องราครซึ่งเป็นตัวตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในการเลือกลำโพงสำหรับนักเล่นในบ้านเรา ส่วนใหญ่ครับ วัสดุที่ใช้ผลิตลำโพงที่ควรเลือกโดยมากโรงงานผู้ผลิตส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับตัวtweeterเป็นหลัก เพราะตัวtweterนั้นเป็นตัวหลักในการตอบสนองต่อสัญญาณความถี่สูง โดยเฉพาะกับลำโพง ค่ายbrand nameทั้งหลาย และโดยมากแล้วคนฟังส่วนใหญ่ก็มักจะให้ความสำคัญและมีความสุขกับการฟังเพลงที่ช่วงความถี่นี้เป็นหลักอีกด้วย โดยที่ตัวdome tweeterนั้นมัจจะใช้ในเครื่องเสียงบ้านเป็นหลักโดยที่ตัวdomeนั้นจะให้แนวกระจายเสียงที่กว้างออกไปตลอกแนวของdome tweeterและสามารถทำขึ้นมาได้ง่ายด้วยการใช้งานแม่แบบ ตัวเดียวกันในการผลิตชิ้นงานขึ้นมาใหม่ทำให้ตัวdomeนั้นมีความคงที่ในการผลิตและเที่ยงตรงสูง โดยที่ส่วนมากตัวtweeterนั้นจะใช้วัสดุประเภท poly และ silk ซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถที่จะทำการปรับปรุ่งการตอบสนองต่อความถี่ในการผลิตได้ง่ายและให้sound ที่มีความ smoot กว่าตัวtweeterแบบกระดาษ ส่วนตัวconeของwooferที่ทำมาจากวัสดุ polypropylene นั้นจะให้เสียงที่มีความ กระชับและชัดเจนกว่า นอกจากนี้ยังสามารถที่จะทนทานต่อความร้อนได้ดีกว่าconeแบบกระดาษอีกด้วย ขอบ surround มี่เป็นยางเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะทำให้ได้ลำโพงเสียงbassที่มีความหนักแน่นและสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างดีสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ขึ้นลงของconeลำโพงๆได้ดีกว่าขอบsurroundที่เป็นfoamหรือกระดาษแบบลำโพงรุ่นเก่า ควรจะเลือกลำโพงแบบไหนถ้าคุณเลือกที่จะติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์แบบประหยัดโดยที่ต้องการใช้ power จากตัวreciver ซึ่งมี power outputที่ต่ำ(มีกำลังwatt ต่ำ) มาเป็นตัวขับลำโพงแล้วละก็คุณก็จำเป็นที่จะต้องหาลำโพงที่มีคุณภาพสูงมาใช้งานดีกว่า(highly-efficient speakers) และถ้าลำโพงต้องขับเสียงที่ดังขึ้นอีก3dBแล้วเราจำเป็นต้องใช้ powerที่ขับกำลังได้มากกว่าตัวreciverแน่นอน ซึ่งอาจจำป็นต้องหาpower ampมาช่วยในการขับลำโพงแทนที่ตัวreciver และหากหาลำโพงที่มีค่า efficiency สูงไม่ได้ก็ไม่ใช่ว่าจะหมดหนทางเสมอไปแต่เพราะว่า ลำโพงที่มีค่า efficiencyต่ำนั้นก็สามารถที่จะให้เสียงที่ดีได้ แต่ลำโพงที่มีค่า efficiencyสูงนั้นสามารถที่จะให้ เสียง deeper bass notes ที่ดีกว่าลำโพงที่มีค่า efficiency ต่ำ และลำโพง low efficiency นั้นน่าจะเหมาะสำหรับคนที่มีเงินทุนค่อนข้างสูงเพราะจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบในการขับลำโพงเช่นpower ampที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในระบบหรือ Accessriesที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในระบบเครื่องเสียง โดยส่วนมาก power ที่ออกมาจาก ตัว reciverจะอยู่ที่ 2-5watt RMS ซึ่งไม่สามารถที่จะทำการขับลำโพงที่มีค่า efficien น้อย แต่ถ้าคุณต้องการฟังเสียงดนตรีที่ มีความดังมากกว่าที่ตัวreciverนั้นจะให้ได้ จำเป็นต้องหาpower ampเข้ามาขับลำโพงซึ่งเป็นวิธีที่แน่นอนที่สุด ลำโพง 2-Way, 3-Way และ 4-wayลำโพง2ทางแบบ coaxials เป็นลำโพงที่ตัว tweeterนั้นต่อเชื่อมหรือติดตั้งอยู่กับส่วนconeของลำโพงwoofer แต่ถ้าคุณต้องการรายละเอียดของเสียงร้องและช่วงความถี่midrangeแล้วละก็ลำโพงแบบ3ทาง(triaxial)ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่ง เพราะจะเพิ่มตัวmidrangeเข้ามาเพื่อทำให้เสียงที่ได้นั้น ชัดดเจนยิ่งขึ้น ส่วนลำโพงแบบ4ทางนั้นจะเพิ่มตัว super-tweeter เข้ามาอีกตัวหนึ่งลำโพงแบบแยกชิ้น (Component Speakers)จะเป็นการแยกการทำงานและแยกชิ้นส่วนของลำโพงทั้งสองส่วนออกจากกันและสามารถที่จะทำการติดตั้งไว้ตำแหน่งใดก็ได้นอกจากนั้นยังมีตัวตัดแบ่งความถี่มาให้ต่างหากอีกด้วย (crossovers)และที่สำคัญสามารถที่จะทนกำลังขับได้สูงและคุณสามารถที่จะสร้าง stereo imagingได้เพราะคุณสามารถที่จะเลือกวางตำแหน่งของตัวtweeter ไว้ตรงจุดใดก็ได้ที่คิดว่าสามารถให้ stereo image ที่ดีที่สุดได้แต่การติดตั้งลำดพงแบบcomponentนั้นอาจจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะตัวถังรถยนต์ในตำแหน่งที่ติดตั้งลำโพง wooferซึ่งก็ไม่พ้นประตูรถยนต์เป็นแน่ แต่หากเป็นวิธีที่ดีที่สุดคือหาลำโพงที่มีขนาดมาตฐานแบบ similarly-sized ซึ่งเป็นลำโพงที่สามารถติดตั้งเข้ากับช่องเดิมของตัวรถยนต์ที่มาจากโรงงานได้อย่างพอดี โดยไม่ต้องเจาะตัวถังรถยนต์ให้เสียหายแนะแนวท้ายบท ถ้าคุณต้องการsoundของดนตรีที่ดีคุณควรเลือกชุดtweeterที่มีชุดติดตั้งแบบปรับองศาได้มาติดตั้งเพราะจะสามารถปรับทิศทางของตัวtweeterไปในตำแหน่งของการฟังที่ดีที่สุดในรถยนต์ของคุณได้ ฉบับนี้ก็ขอจบเรื่องของการเลือกลำโพงแบบพื้นฐานกันเพียงแค่นี้คราวหน้ามาว่ากันด้วยเรื่องราวที่ต่อเนื่องจากเล่มนี้กันต่อครับ

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 14 เครื่องรับวิทยุ FM



เครื่องรับวิทยุ FM


เครื่องรับวิทยุแบบ FM ในปัจจุบันนี้เป็นแบบ ซุปเปอร์เฮท หรือเรียกชื่อให้เต็มในภาษาอังกฤษว่า ซุปเปอร์เฮทเทอโรดาย (Superheterodyne) โดยรับคลื่นที่มีขนาด 88 – 108 MHz. หลักการโดยทั่วๆ ไปก็เหมือนกับเครื่องรับวิทยุ AM อย่างไรก็ตาม เครื่องรับแบบ FM นั้น มีข้อแตกต่างและสาระสำคัญปลีกย่อยแตกต่างกว่าเครื่องรับ AM อยู่มาก
การทำงานของแต่ละภาคจะอธิบายได้ดังนี้
1. สายอากาศ (Antenna) จะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นวิทยุที่ส่งจากสถานีต่างๆ เข้ามาทั้งหมดโดยไม่จำกัดว่าเป็นสถานีใด ถ้าสถานีนั้นๆ ส่งสัญญาณมาถึง สายอากาศจะส่งสัญญาณต่างๆไปยังภาค RF โดยส่วนใหญ่สายอากาศของเครื่องรับวิทยุ FM จะเป็นแบบไดโพล (Di-Pole) ซึ่งเป็นสายอากาศแบบสองขั้ว จะช่วยทำให้การรับสัญญาณดียิ่งขึ้น


2. ภาคขยาย RF (Radio Frequency Amplifier) จะทำงานเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ AM คือจะทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุในย่าน FM 88 MHz. – 108 MHz. เข้ามาและเลือกรับสัญญาณ FM เพียงสถานีเดียวโดยวงจรจูนด์ RF และขยายสัญญาณ RF นั้นให้แรงขึ้น เพื่อให้มีกำลังสูง เหมาะที่จะส่งไปบีท (Beat) หรือผสมในภาคมิกเซอร์ (Mixer) โดยข้อแตกต่างสำคัญของภาคขยาย RF ของเครื่งรับ AM และ FM คือ วิทยุ FM ใช้ความถี่สูงกว่า AM ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์มาใช้ในวงจรขยายจะต้องหาอุปกรณ์ที่ให้การตอบสนองความถี่ในย่าน FM ได้ และต้องขยายช่องความถี่ที่กว้างของ FM ได้


3. ภาคมิคเซอร์ (Mixer) จะทำงานโดยจะรับสัญญาณเข้ามาสองสัญญาณ ได้แก่สัญญาณ RF จากภาคขยาย RF และสัญญาณ OSC. จากภาคโลคอลออสซิลเลเตอร์ เพื่อผสมสัญญาณ (MIX.) ให้ได้สัญญาณออกเอาท์พุตตามต้องการ สัญญาณที่ออกจากภาคมิกเซอร์มีทั้งหมด 4 ความถี่ คือa) ความถี่ RF ที่รับเข้ามาจากวงจรจูน RF (RF)b) ความถี่ OSC. ที่ส่งมาจากภาคโลคอล ออสซิลเลเตอร์ (OSC.)c) ความถี่ผลต่างระหว่าง OSC. กับ RF. จะได้เป็นคลื่นขนาดกลางหรือที่เรียกว่า IF (Intermediate Frequency) ได้ความถี่ 10.7 MHz.d) ความถี่ผลบวกระหว่าง OSC. กับ RFความถี่ที่วงจรจูนด์ IF ให้ผ่านมีความถี่เดียว คือความถี่ IF เท่ากับ 10.7 MHz. ไม่ว่าภาคขยาย RF จะรับความถี่เข้ามาเท่าไรก็ตาม และภาค OSC. จะผลิตความถี่ขึ้นมาเท่าไรก็ตาม เมื่อเข้าผสมกันที่ภาคมิกเซอร์แล้วจะได้ความถี่ IF เท่ากับ 10.7 MHz. ออกเอาท์พุตเสมอ


4. ภาคโลคอล ออสซิลเลเตอร์ (Local Oscillator) ทำงานเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ AM คือ ผลิตความถี่ที่มีความแรงคงที่ขึ้นมา ความถี่ที่ผลิตขึ้นจะสูงกว่าความถี่ที่วงจรจูนด์ RF รับเข้ามาเท่ากับความถี่ IF คือ 10.7 MHz. เช่น วงจรจูนด์ RF รับความถี่เข้ามา 100 MHz. ความถี่ OSC. จะผลิตขึ้นมา 100 MHz. + 10.7 MHz. = 110.7 MHz.ความแตกต่างของภาคนี้ระหว่างวิทยุ AM และ FM อยู่ที่วงจรเรโซแนนท์ที่กำเนิดความถี่ขึ้นมาต่างกัน ทำให้ L, C ที่ใช้ใน FM จะใช้ค่าน้อยกว่าของ AM และการกำเนิดความถี่ OSC. ของวิทยุ FM จะต้องมีวงจร AFC (Automatic Frequency Control) มาคอยควบคุมเพื่อควบคุมให้ความถี่ OSC. กำเนิดขึ้นมา เมื่อผสมกับความถี่ RF แล้วได้ความถี่ IF 10.7 MHz. ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสัญญาณเสียงที่ผสมมา ในระบบการผสมคลื่นแบบ FM ความถี่ IF จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีสัญญาณเสียงช่วงบวกผสม และจะลดลงเมื่อสัญญาณเสียงช่วงลบผสม ดังนั้นวงจร OSC. จะต้องมีความถี่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อความถี่ RF ที่รับเข้ามามีสัญญาณเสียงช่วงบวกผสม และจะลดลงเล็กน้อยเมื่อความถี่ RF ที่รับเข้ามามีสัญญาณเสียงช่วงลบผสม เมื่อผสมสัญญาณที่ภาคมิกเซอร์จึงได้ IF ที่ถูกต้อง AFC ดังกล่าวจะถูกส่งมาจากภาคดีเทคเตอร์ และจะทำงานโดยอัตโนมัติ


5. ภาคขยาย IF (Intermediate Frequency Amplifier) จะทำหน้าที่เหมือนเครื่องรับวิทยุ AM และยังสามารถขยายความถี่ IF ทั้งของ AM และ FM ได้ ในเครื่องรับวิทยุบางรุ่นที่มีทั้ง AM และ FM ในเครื่องเดียวกัน อาจใช้ภาคขยาย IF ร่วมกันทั้งวิทยุ AM และวิทยุ FM คือขยายความถี่ IF ให้มีระดับความแรงมากขึ้นแบบไม่ผิดเพี้ยน โดยภาคขยาย IF ของคลื่น FM นั้นขยายความถี่ได้ตลอดย่าน 10.7 MHz. นับว่ามีความถี่สูงกว่าเครื่องรับ AM ซึ่งโดยปกติเครื่องรับแบบ AM มีความถี่เพียง 455 kHz. เท่านั้น ส่วนที่แตกต่างกันระหว่าง IF ของ AM และ FM คือ ในส่วนวงจรจูนด์ IF เพราะใช้ความถี่ไม่เท่ากัน ค่าความถี่เรโซแนนท์ต่างกัน การกำหนดค่า L, C มาใช้งานต่างกัน


6. ภาคดีเทคเตอร์ (Detector) ดีเทคเตอร์ของเครื่องรับ FM นั้นมีความแตกต่างกับเครื่องรับ AM ทั้งนี้เพราะวิธีผสมคลื่นของสถานีส่งทั้งสองแบบนี้ไม่เหมือนกัน โดยภาคดีเทคเตอร์ทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงออกจากความถี่ IF แต่จะแตกต่างกันในระบบการแยกเสียง เพราะในระบบ AM สัญญาณเสียงถูกผสมมาทางความสูงของคลื่นพาหะ สามารถแยกได้โดยใช้ไดโอดหรือทรานซิสเตอร์ร่วมกับ R, C ฟิลเตอร์ก็สามารถตัดความถี่ IF ออกเหลือเฉพาะสัญญาณเสียงได้ ส่วนในระบบวิทยุ FM สัญญาณเสียงจะผสมกับพาหะ โดยสัญญาณเสียงทำให้คลื่นพาหะเปลี่ยนความถี่สูงขึ้นหรือต่ำลง ส่วนความแรงคงที่ ไม่สามารถใช้วิธีการดีเทคเตอร์แบบ AM ได้ ต้องใช้วิธีพิเศษ เช่น ดิสคริมิเนเตอร์ (Discriminator), เรโชดีเทคเตอร์ (Ratio Detector), เฟส ล็อค ลูป ดีเทคเตอร์ (Phase Lock Loop Detector) เป็นต้น จะแตกต่างจากของ AM โดยสิ้นเชิงในส่วนดีเทคเตอร์นี้จะมีสัญญาณถูกส่งออกสองทาง คือ ทางหนึ่งส่งต่อไปภาคขยายเสียง อีกทางหนึ่งจะถูกผ่านชุดฟิลเตอร์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อแปลงสัญญาณเสียงเป็นแรงไฟ DC เพื่อส่งย้อนกลับมาควบคุมวงจรกำเนิดความถี่ OSC. เป็นแรงไฟ AFC


7. ภาคขยายเสียง (Audio Frequency Amplifier) ใช้งานร่วมกับของเครื่องรับวิทยุ AM ได้ เพราะทำหน้าที่ขยายเสียงที่ส่งมาจากภาคดีเทคเตอร์ ให้มีระดับความแรงมากขึ้นแบบไม่ผิดเพี้ยนพอที่จะไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา โดยในเครื่องรับวิทยุบางแบบอาจมีภาคขยายเสียงในตัว แต่บางแบบอาจจะไม่มีเครื่องขยายเสียงในตัว แต่จะมีอยู่ต่างหาก เครื่องรับวิทยุที่มีเครื่องขยายเสียงภายนอกเรียกว่า จูนเนอร์ (Tunner)


8. ภาคจ่ายกำลังไฟ (Power Supply) ทำหน้าที่จ่ายแรงดันไฟ DC เลี้ยงวงจรของเครื่องรับวิทยุ FM ซึ่งจะต้องใช้วงจรเรกกูเลเตอร์ (Regulator) ควบคุมแรงดันไฟ DC ให้คงที่เพื่อเลี้ยงวงจร ทำให้คุณภาพของเครื่องรับวิทยุ FM ดีขึ้น
ภาคฟร้อนท์เอนด์ (Front End)
ในเครื่องรับ FM นั้น ทางด้านฟร้อนท์เอนด์เกี่ยวเนื่องกับคลื่นที่มีความถี่สูงมากที่เรียกว่า VHF หรือที่เกี่ยวกับ UHF ได้แก่ภาคขยาย RF, มิกเซอร์ และโลคอลออสซิลเลเตอร์


หน้าที่สำคัญของ ฟร้อนท์เอนด์ มีดังนี้


ก. เลือกสถานีใดสถานีหนึ่งที่ผู้ฟังต้องการจะหมุนหน้าปัด เครื่อง FM เกือบทุกเครื่องมีภาคขยาย RF จึงมีความสามารถในการแยกสถานี (Selectivity)ได้ดีและไวต่อการรับ (Sensitivity)
ข. เปลี่ยนสัญญาณของสถานีให้เป็นคลื่น IF ซึ่งมีความถี่เท่ากับ 10.7 MHz.
ภาคโลคอลออสซิลเลเตอร์ จะประกอบด้วยส่วนประกอบของวงจร 3 วงจร คือ ภาคกำเนิดความถี่หรือจูนด์ OSC. จะกำเนิดความถี่ขึ้นมาสูงกว่าความถี่ที่รับเข้ามาจากภาคจูนด์ RF เท่ากับความถี่ IF (10.7 MHz.) เช่น จูนด์ RF รับความถี่ของสถานี FM ที่ความถี่ 90 MHz. ภาคจูนด์ OSC. จะกำเนิดความถี่ขึ้นมา 100.7 MHz. (90 MHz. + 10.7 MHz. = 100.7 MHz.) ส่งผ่านความถี่ OSC. ไปเข้าวงจรขยายความถี่ OSC. วงจรขยายความถี่ OSC. จะส่งสัญญาณออกสองทาง คือ ทางหนึ่งไปเข้าวงจรมิกเซอร์ อีกทางหนึ่งไปเข้าวงจรป้อนกลับทางบวก (Positive Feedback) มากระตุ้นวงจรจูนด์ OSC. ให้กำเนิดความถี่ขึ้นมามีระดับความแรงคงที่สม่ำเสมอ และส่งผ่านภาคขยายออกไปเข้าภาคมิกเซอร์ภาคมิกเซอร์จะรับสัญญาณเข้ามาสองทาง คือความถี่ RF จากวงจรจูนด์ RF และความถี่ OSC. จากภาค OSC. เข้ามาผสมกันได้สัญญาณออกสี่สัญญาณ คือ
1. ความถี่ RF 90 MHz.
2. ความถี่ OSC. 100.7 MHz.
3. ความถี่ OSC. – RF = 100.7 MHz. – 90 MHz. = 10.7 MHz
4. ความถี่ OSC. + RF = 100.7 MHz. + 90 MHz. = 190.7 MHz.สัญญาณความถี่ทั้งสี่จะถูกส่งไปเข้าวงจรจูนด์ IF 1 ถูกกำหนดให้ตอบสนองความถี่ที่ความถี่ IF คือ 10.7 MHz. จึงกรองผ่านเฉพาะความถี่ IF ส่งต่อไปภาคขยายความถี่ IF ต่อไป

สัปดาห์ที่ 13 ประเภทและหลักการทำงานของเครื่องรับวิทยุ

http://sstc13.blogspot.com/2010/01/1.html

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 12 Mixer


เอาแบบคร่าวๆแล้วกันคับmixer คืออุปกรณ์รวมและสมดุลสัญญาณที่นำมารวมกัน( หน้้าที่ตามชื่อมันน่ะครับ )แต่ก็สามารถดัดแปลงใช้งานได้หลากหลายตามแต่ function ของแต่ละรุ่นครับที่คุณ kookkai ต่อ กีต้าร์ -คีร์บอด ต่อผ่าน mixer ก็เป็นการใช้งานในการควบคุมสัญญาณ (หรือใช้ขยายสัญญาณ ) ก่อนการอัด เป็นการใช้งานที่ไม่ผิดครับ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ1.ความเหมาะสมกันของความต้านทานขาเข้า(ของ mixer = input impedance,Z) กับความต้านทานขาออก (จาก เครื่องดนตรี = output impedance,Z ) ควรมีค่าที่ใกล้เคียงกันครับinput imprdance ดูได้จาก คู่มือ mixer ส่วน output imprdance ของคีร์บอร์ดก็ดูได้จากคู่มือคีร์บอร์ด ครับ ของกีต้าร์ ส่วนใหญ่ น่าจะเป็น Hi Z ( output impedance สูง ประมาณ 50 กิโลโอมห์)ซึ่งน่จะใกล้เคียงกับช่อง input ของmixer ที่เขียนว่า Hi Z หรือ line in ครับการที่ค้าความต้านทานเหมาะสมกัน จะทำให้การถ่ายทอดสัญญาณมีการสูญเสียน้อยครับ ( power maximum transfer )2.ระดับความแรงของสัญญาณครับ ที่ mixer น่าจะ check ได้ ( ดูจากคู่มือครัับ )ส่วนต้องผ่าน DI ไหมนั้น ถ้าไม่ต่อแล้วได้สัญญาณ ที่มีระดับกำลังดี ไม่มี noise ( เสียงไม่พึงประสงค์ )ก็ไม่จำเป็นต้องต่อ ( มั้งครับ เท่าที่รู้น่ะ ) แต่ DI ก็จะช่วยในการป้องกันไฟรั่วจากเครื่องดนตรีมายังระบบบันทึกเสียงของเรา ( mixer , audio interface ,com. ) ในกรณีที่ DI นั้น สามารถแยก ground ได้( Ground rift )สรุปคือต่อประมาณที่คุณทำก็ โอเคครับ ถ้าตอนอัดได้เสียงอย่างที่คุณต้องการแล้วแต่ถ้ายังไม่ได้ก็อาจต้องมีอุปกร์อื่นๆเพิ่ทเติมบ้าง ยังไงก็ลองอ่านคู่มือดูครับ