วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 15 การเลือกซื้อลำโพง
การเลือกซื้อลำโพง
อะไรที่ควรมองเป็นอย่างแรกเวลาเลือกลำโพง สิ่งแรกที่เราจะพิจรณาถึงการเลือกซื้อลำโพงสักคู่หนึ่งนั้นเราควร ที่จะดูเรื่องอะไรเป็นอย่างแรกเช่น ชอบแนวเพลงแบบไหน รูปลักษณ์ของลำโพงสวยงามขนาดไหนหรือเรื่องราครซึ่งเป็นตัวตัดสินใจที่สำคัญที่สุดในการเลือกลำโพงสำหรับนักเล่นในบ้านเรา ส่วนใหญ่ครับ วัสดุที่ใช้ผลิตลำโพงที่ควรเลือกโดยมากโรงงานผู้ผลิตส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับตัวtweeterเป็นหลัก เพราะตัวtweterนั้นเป็นตัวหลักในการตอบสนองต่อสัญญาณความถี่สูง โดยเฉพาะกับลำโพง ค่ายbrand nameทั้งหลาย และโดยมากแล้วคนฟังส่วนใหญ่ก็มักจะให้ความสำคัญและมีความสุขกับการฟังเพลงที่ช่วงความถี่นี้เป็นหลักอีกด้วย โดยที่ตัวdome tweeterนั้นมัจจะใช้ในเครื่องเสียงบ้านเป็นหลักโดยที่ตัวdomeนั้นจะให้แนวกระจายเสียงที่กว้างออกไปตลอกแนวของdome tweeterและสามารถทำขึ้นมาได้ง่ายด้วยการใช้งานแม่แบบ ตัวเดียวกันในการผลิตชิ้นงานขึ้นมาใหม่ทำให้ตัวdomeนั้นมีความคงที่ในการผลิตและเที่ยงตรงสูง โดยที่ส่วนมากตัวtweeterนั้นจะใช้วัสดุประเภท poly และ silk ซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถที่จะทำการปรับปรุ่งการตอบสนองต่อความถี่ในการผลิตได้ง่ายและให้sound ที่มีความ smoot กว่าตัวtweeterแบบกระดาษ ส่วนตัวconeของwooferที่ทำมาจากวัสดุ polypropylene นั้นจะให้เสียงที่มีความ กระชับและชัดเจนกว่า นอกจากนี้ยังสามารถที่จะทนทานต่อความร้อนได้ดีกว่าconeแบบกระดาษอีกด้วย ขอบ surround มี่เป็นยางเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะทำให้ได้ลำโพงเสียงbassที่มีความหนักแน่นและสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างดีสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ขึ้นลงของconeลำโพงๆได้ดีกว่าขอบsurroundที่เป็นfoamหรือกระดาษแบบลำโพงรุ่นเก่า ควรจะเลือกลำโพงแบบไหนถ้าคุณเลือกที่จะติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์แบบประหยัดโดยที่ต้องการใช้ power จากตัวreciver ซึ่งมี power outputที่ต่ำ(มีกำลังwatt ต่ำ) มาเป็นตัวขับลำโพงแล้วละก็คุณก็จำเป็นที่จะต้องหาลำโพงที่มีคุณภาพสูงมาใช้งานดีกว่า(highly-efficient speakers) และถ้าลำโพงต้องขับเสียงที่ดังขึ้นอีก3dBแล้วเราจำเป็นต้องใช้ powerที่ขับกำลังได้มากกว่าตัวreciverแน่นอน ซึ่งอาจจำป็นต้องหาpower ampมาช่วยในการขับลำโพงแทนที่ตัวreciver และหากหาลำโพงที่มีค่า efficiency สูงไม่ได้ก็ไม่ใช่ว่าจะหมดหนทางเสมอไปแต่เพราะว่า ลำโพงที่มีค่า efficiencyต่ำนั้นก็สามารถที่จะให้เสียงที่ดีได้ แต่ลำโพงที่มีค่า efficiencyสูงนั้นสามารถที่จะให้ เสียง deeper bass notes ที่ดีกว่าลำโพงที่มีค่า efficiency ต่ำ และลำโพง low efficiency นั้นน่าจะเหมาะสำหรับคนที่มีเงินทุนค่อนข้างสูงเพราะจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบในการขับลำโพงเช่นpower ampที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในระบบหรือ Accessriesที่จำเป็นต้องเพิ่มเข้ามาในระบบเครื่องเสียง โดยส่วนมาก power ที่ออกมาจาก ตัว reciverจะอยู่ที่ 2-5watt RMS ซึ่งไม่สามารถที่จะทำการขับลำโพงที่มีค่า efficien น้อย แต่ถ้าคุณต้องการฟังเสียงดนตรีที่ มีความดังมากกว่าที่ตัวreciverนั้นจะให้ได้ จำเป็นต้องหาpower ampเข้ามาขับลำโพงซึ่งเป็นวิธีที่แน่นอนที่สุด ลำโพง 2-Way, 3-Way และ 4-wayลำโพง2ทางแบบ coaxials เป็นลำโพงที่ตัว tweeterนั้นต่อเชื่อมหรือติดตั้งอยู่กับส่วนconeของลำโพงwoofer แต่ถ้าคุณต้องการรายละเอียดของเสียงร้องและช่วงความถี่midrangeแล้วละก็ลำโพงแบบ3ทาง(triaxial)ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีตัวหนึ่ง เพราะจะเพิ่มตัวmidrangeเข้ามาเพื่อทำให้เสียงที่ได้นั้น ชัดดเจนยิ่งขึ้น ส่วนลำโพงแบบ4ทางนั้นจะเพิ่มตัว super-tweeter เข้ามาอีกตัวหนึ่งลำโพงแบบแยกชิ้น (Component Speakers)จะเป็นการแยกการทำงานและแยกชิ้นส่วนของลำโพงทั้งสองส่วนออกจากกันและสามารถที่จะทำการติดตั้งไว้ตำแหน่งใดก็ได้นอกจากนั้นยังมีตัวตัดแบ่งความถี่มาให้ต่างหากอีกด้วย (crossovers)และที่สำคัญสามารถที่จะทนกำลังขับได้สูงและคุณสามารถที่จะสร้าง stereo imagingได้เพราะคุณสามารถที่จะเลือกวางตำแหน่งของตัวtweeter ไว้ตรงจุดใดก็ได้ที่คิดว่าสามารถให้ stereo image ที่ดีที่สุดได้แต่การติดตั้งลำดพงแบบcomponentนั้นอาจจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะตัวถังรถยนต์ในตำแหน่งที่ติดตั้งลำโพง wooferซึ่งก็ไม่พ้นประตูรถยนต์เป็นแน่ แต่หากเป็นวิธีที่ดีที่สุดคือหาลำโพงที่มีขนาดมาตฐานแบบ similarly-sized ซึ่งเป็นลำโพงที่สามารถติดตั้งเข้ากับช่องเดิมของตัวรถยนต์ที่มาจากโรงงานได้อย่างพอดี โดยไม่ต้องเจาะตัวถังรถยนต์ให้เสียหายแนะแนวท้ายบท ถ้าคุณต้องการsoundของดนตรีที่ดีคุณควรเลือกชุดtweeterที่มีชุดติดตั้งแบบปรับองศาได้มาติดตั้งเพราะจะสามารถปรับทิศทางของตัวtweeterไปในตำแหน่งของการฟังที่ดีที่สุดในรถยนต์ของคุณได้ ฉบับนี้ก็ขอจบเรื่องของการเลือกลำโพงแบบพื้นฐานกันเพียงแค่นี้คราวหน้ามาว่ากันด้วยเรื่องราวที่ต่อเนื่องจากเล่มนี้กันต่อครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น