วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง




]
การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง




เครื่องเสียงนั้นมีด้วยกันหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้
อุปกรณ์แหล่งสัญญาณ
เป็นอุปกรณ์ต้นสัญญาณ โดยอาจเป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณเอง หรือรับสัญญาณจากคลื่นวิทยุก็ได้ เช่น
เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ต เครื่องเล่นซีดี เครื่องเล่นดีวีดี
เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม
อุปกรณ์ปรับแต่งสัญญาณ
ขยายสัญญาณ หรือแปลงสัญญาณ แล้วแต่การใช้งาน เช่น
ปรีแอมปลิไฟเออร์, เพาเวอร์แอมปลิไฟเออร์, อีควอไลเซอร์, มิกเซอร์, เซอราวด์ซาวด์โปรเซสเซอร์
อุปกรณ์กระจายเสียง
เป็นส่วนท้ายสุดของระบบเครื่องเสียง เป็นตัวถ่ายทอดผลลัพธ์สุดท้ายออกมา ซึ่งก็คือ ลำโพง นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครื่องเสียงอีกมากมาย เช่น ไมโครโฟน, สายเคเบิล, สายสัญญาณ เป็นต้น




ชนิดของเครื่องเสียง







แบบใช้ทรานซิสเตอร์
เป็นแบบที่นิยมใช้แบบหนึ่งเพราะเบอร์ของทรานซิสเตอร์ที่จะมาใช้งานมีมาก สามารถเลือกและสามารถออกแบบวงจรได้กว้าง คุณภาพของเสียงดี อัตราขยายสูงและความผิดเพี้ยนต่ำ ปัญหาการซ่อมไม่ยุ่งยาก อะไหล่หาได้ง่ายและแบบดั่งเดิมที่ใช้กันมานาน รู้จักละใช้แพร่หลายทั่วไป จุดเด่นของเครื่องขยายแบบทรานซิสเตอร์ คือสามารถจัดคราสการขยายได้กว้าง เพิ่มอัตราการขยายได้งาย และราคาถูก
แบบใช้มอสเฟท
เป็นแบบที่เริ่มนำมาใช้ในวงจรขยายกำลังเมื่อไม่นาน ได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง ในปัจุบันความนิยมในการใช้เพาเวอร์มอสเฟทลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะเพาเวอร์มอสเฟทที่ถูกสร้างมาใช้งานด้านการขยายเสียงมีไม่มากเบอร์ให้เลือกใช้งานน้อย ทำให้การออกแบบวงจร การเพิ่มอัตราขยาย การแก้ไขซ่อมแซมไม่กว้างและหาอะไหล่ยาก แต่มีข้อดีหลายข้อกว่าทรานซิสเตอร์ คืออัตราความผิดเพี้ยนต้ำกว่า สัญญาณรบกวนมีผลต่อการขยายน้อย มีความคงที่ในการทำงานต่ออุณหภมิสูงมาก มีความไวในการขยายสัญญาณสูง สามารถต่ออัตราขยายได้หลายภาค
แบบใช้ IC (INTERGRATED AMPLIFIER)
เป็นภาคขยายกำลังที่เพิ่ใความนิยมมากขึ้น โดยสร้างอุปกรณ์พวกทรานซิสเตอร์ มอสเฟส รวมอยู่ในตัว IC เพาเวอร์แอมป์ ข้อดีของภาคขยายกำลังแบบ IC คือ ประสิทธิภาพของวงจรขยายสูงกว่ามอสเฟท เพราะมีการต่อวงจรน้อยลงโดยรวมวงจรต่างๆสำเร็จภายในตัว IC เลย ความผิดเพี้ยนที่เกิดขึ้นก็ยิ่งลดลง สามารถเพิ่มระบบควบคุมการทำงานต่างๆได้มากขึ้น ให้การตอบสนองความถี่เสียงดี แต่มีข้อเสียคือการทำให้มีอัตราขยายสูงๆทำได้ยาก อะไหล่ในการซ่อมแซมก็อาจหายากเช่นกัน ดังนั้นการใช้ภาคขยายกำลังแบบ IC จึงใช้ได้ในกำลังปานกลาง ไม่ต้องการอัตราขยายสูงนัก และไม่นำไปใช้งานแบบต่อเนื่องนานๆ




รายชื่อบริษัทผลิตเครื่องเสียง





NPE (ไทย)
คลิปช์ (Klipsch) (สหรัฐฯ)
โซนี่ (Sony) (ญี่ปุ่น)
พานาโซนิค (Panasonic)
ไอวา (AIWA) บริษัทในเครือ SONY (ญี่ปุ่น)
เจวีซี (JVC) (ญี่ปุ่น)
ชาร์ป (SHARP) (ญี่ปุ่น)
แอลจี (LG) (เกาหลี)
แมคอินทอช แล็ป (McIntosh Labs) (สหรัฐฯ) คนละบริษัทกับ Macintosh
นะกะมิจิ (Nakamichi) (ญี่ปุ่น, ถูกซื้อกิจการโดยบริษัทสิงคโปร์)
แบง & โอลูฟเซน (Bang & Olufsen) (เดนมาร์ก)
โบส (Bose) (สหรัฐฯ)
ยามาฮ่า (Yamaha) (ญี่ปุ่น)
ฮาร์แมนคาร์ดอน (Harman Kardon) (สหรัฐฯ)
ธานินทร์ (ไทย)
ไดสตาร์ (ไทย)
พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องเสียง (ไทย)
สายสัญญาณซึ่งได้รับการันตีจากนิตยสาร What Hi-Fi UK ซึ่งได้รับดาวถึง 4ดาวด้วยกัน
ดึงข้อมูลจาก "
http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องเสียง".

ความรุ้ เกี่ยวกับ เครื่องเสียง

หน้าที่ของเครื่องขยายเสียง


หน้าที่ของเครื่องขยายเสียง ถ้าเปรียบเทียบ ก็เหมือนกับปั๊มน้ำ คือมีหน้าที่ปั๊มให้น้ำทางด้านอินพุทที่ไหลเข้ามา ออกไปทางด้านเอาท์พุท ด้วยความแรงและเร็ว เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องขยายเสียง มันมีหน้าที่ปั๊มให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามา ออกไปทางด้านเอาท์พุท ด้วยความแรงและเร็ว
เครื่องขยายเสียงจะขับดันสัญญาณด้านเอาท์พุท ตามสัญญาณด้านอินพุท เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเราจะแบ่งวงจรเครื่องขยายเสียงออกเป็น 2 ส่วน วงจรส่วนที่หนึ่งคือ วงจรทางเอาท์พุท ได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่ หรือจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ถ้าเราใช้วิธีเสียบปลั๊กไฟที่บ้าน ไฟที่ได้เป็นไฟกระแสสลับ จะต้องแปลงไฟเป็นไฟตรงก่อนจึงจะป้อนให้กับวงจรเครื่องขยายเสียงได้
วงจรส่วนที่สองคือ วงจรอินพุท ซึ่งจะรับสัญญาณไฟฟ้าจากเทปหรือเครื่องเล่นซีดี ดีวีดี แผ่นเสียง และไมโครโฟน สัญญาณที่เข้ามายังเป็นลูกคลื่นลูกเล็กๆ ไม่สามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้ อย่างไรก็ตามถ้านำหูฟัง ไปต่อไว้ สามารถได้ยินเสียงเบาๆ แต่เมื่อนำสัญญาณนี้ผ่านเข้าเครื่องขยายเสียงจะถูกขยายให้มีขนาดมากขึ้น สามารถนำไปขับออกทางลำโพงได้























แนวคิดพื้นฐานของเครื่องขยายเสียง สัญญาณไฟฟ้าด้านเข้าจะถูกขยายให้มีขนาดเพิ่มขึ้น ขับออกทางลำโพง
สำหรับเครื่องขยายเสียงทั่วๆไป มักจะมีภาคขยายสัญญาณ ก่อนจะเข้าเครื่องขยายเสียง เราเรียกภาคนี้ว่า ภาคปรีแอมป์พลิฟลายเออร์ (Pre- amplifier) ซึ่งจะทำงานเหมือนกับภาคแอมพลิฟลายเออร์ทุกประการเพียงแต่สัญญาณขยายอ่อนกว่า เพื่อไม่ให้ขยายสัญญาณผิดเพี้ยน ดังนันเครื่องขยายเสียงราคาแพง จะมีภาคปรีแอมป์ หลายช่วงก่อนที่จะขยายเสียงออกทางลำโพง ทำให้ได้สัญญาณออกมาแรง และเหมือนกับสัญญาณขาเข้าทุกประการ หรือถ้าปรับแต่ง อาจจะไพเราะกว่าเสียงจริงก็ได้ พวกนักร้องคาราโอเกะนิยมมากทั้งๆที่เสียงขาเข้าอาจจะฟังไม่ค่อยไพเราะนัก แต่พอผ่านการปรับแต่ง กลายเป็นเสียงนักร้องซีดีทองคำก็เป็นได้
คุณลองเปิดเข้าไปดูข้างในของเครื่องขยายเสียง คุณจะได้เห็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามากมายลายตาไปหมด เช่น ตัวเก็บประจุ ตัวต้านทาน และทรานซิสเตอร์ แน่นอนถ้าคุณไม่เข้าใจ คุณจะทึ่ง และตื่นเต้น ว่าทำได้อย่างไร อย่างไรก็ตามถ้าคุณเข้าใจหลักการพื้นฐาน คุณจะเห็นอุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้แตกต่างกับวาวล์ หรือปั๊มน้ำเลย




















ภายในเครื่องขยายเสียง คุณจะได้เห็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์มากมาย บริเวณที่แสดงลูกศรชี้ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสุด เรียกว่าทรานซิสเตอร์ เปรียบเทียบได้กับปั๊มน้ำ ดังนั้นส่วนนี้จึงเกิดความร้อนสูงต้องมีตัวระบายความร้อน ทำด้วยแผ่นโลหะ เรียกว่า ฮีทซ์ซิงค์ (Heat Sink)